รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัลจำกัด ให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ, รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง, รับจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม , รับจดทะเบียนลิขสิทธิ์ , รับจดทะเบียนสิทธิบัตร, รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์, รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, รับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เพื่อเป็นยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตามกฎหมาย เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตัวเราเองไม่ให้ถูกผู้อื่นละเมิด หรือแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ จากความคิดของเรา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิในทางกฎหมายของเจ้าของสิทธิที่มีอยู่เหนือผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่งของมนุษย์ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่ใช่สิทธิอย่างเดียวกัน เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง ได้เอาเพลงนั้นมาอัดแผ่นเสียงขาย เมื่อมีผู้ซื้อแผ่นเสียงนั้นไป ผู้ซื้อก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแผ่นเสียงนั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงในแผ่นเสียงนั้น จึงไม่สามารถนำเอาแผ่นเสียงนั้นไปอัดใหม่แล้วนำไปขายต่อได้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์
เครื่องหมายการค้า
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543ได้กำหนดคำนิยามไว้ดังนี้
เครื่องหมาย หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
ประเภทของเครื่องหมายที่สามารถทำการจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย
1.เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตก ต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
2.เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตก ต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
3.เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยว ข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
4.เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือ วิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน
คุณลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ หมายความว่า เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและ เข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เช่น ชื่อ ตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติ ของสินค้าโดยตรง, ภาพ ของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น เป็นต้น
2.เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ กำหมายได้กำหนดห้ามไม่ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไป เช่น ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจำตำแหน่ง ตราประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือตราประจำจังหวัด ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศ หรือธงราชการ พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อ หรือนามพระราชวงศ์ เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด ตลอดจนเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น
3.เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว
ระยะเวลาการคุ้มครองของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
1.เครื่องหมายการค้าที่1ได้ทำการจดทะเบียนแล้วจะมีอายุการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
2.การต่ออายุเครื่องหมายการค้า สามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยให้ยื่นคำขอต่ออายุภายใน 90 วัน ก่อนวันหมดอายุของเครื่องหมายการค้านั้นๆ
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ (ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง) เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
ประเภทของงานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
-วรรณกรรม หมายความ ว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (หมายความถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด) ด้วย
-นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
-ศิลปกรรม หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ ได้แก่ งาน จิตรกรรม, งานประติมากรรม, งานภาพพิมพ์, งานสถาปัตยกรรม, งาน ภาพถ่าย, งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ และ งานศิลป์ประยุกต์ (ทั้งนี้ ไม่ว่างานทุกประเภทดังกล่าวข้างต้น จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย)
-ดนตรีกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำ ร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว
-โสตทัศนวัสดุ หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี
-ภาพยนตร์ หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี
-สิ่งบันทึกเสียง หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้ วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
-งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หมายความว่า งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน
-หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นไม่หมายความรวมถึง ความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
ประเภทของงานสร้างสรรค์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
- ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
-รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
-ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
-คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
-คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามที่อ้างถึงดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
สิทธิบัตร
สิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม
ประเภทของสิทธิบัตรตามกฎหมาย
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ การคิดค้น หรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ (หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือ การปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย) หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี เช่น การผลิตรถยนต์ , รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว
2. เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น และ
3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ได้แก่การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม
การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรได้
1.จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติสัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบ สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ เช่น การออกแบบเก้าอี้ที่มีรูปร่างแปลกๆ เป็นต้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามกฎหมายได้
-ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม
การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้
1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
อนุสิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ การคิดค้น หรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ (หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือ การปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย) หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี เหมือนกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่สิ่งประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น หรือมีกลไกที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว
2. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ได้แก่การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม
อัตราค่าบริการและขอบเขตการให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ
1.รับบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)
2.รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)
3.รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)
4.รับจดทะเบียนเครื่องหมายร่วม
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ราคา 5,000 บาท แล้ว)
5.รับจดทะเบียนลิขสิทธิ์
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบทะเบียนลิขสิทธิ์ ราคา 5,000 บาท แล้ว)
6.รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบสิทธิบัตร ราคา 5,000 บาท แล้ว)
7.รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบสิทธิบัตร ราคา 5,000 บาท แล้ว)
8.รับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร
-คิดค่าบริการขั้นต่ำ รายการละ 10,000 บาท (ราคานี้รวมค่าตรวจสอบสิทธิบัตร ราคา 5,000 บาท แล้ว)
กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
เลขที่ 689 ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ ชั้น 30 ถ.สุขุมวิท (ซอย 35) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทร.081-9151522 , 02-0172804 email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โดยตรง หรือ (คลิกที่นี่)